ปิดแถบนี้

ClickClickClickClickClick
คุณดูเนื้อหาในหน้านี้

วิชาศาสนบัญญัติ ระดับที่ 2



วิชาศาสนบัญญัติ
ระดับที่ 2
(1) นิยามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระดับที่ 2
นิยาม เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดและให้ความสำคัญกับการเผยแผ่ สนใจปัญหาของบรรดามุสลิมทั่วไป และเรียนรู้ความเข้าใจพื้นฐานบางส่วนของการดะอ์วะฮ์
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตระหนักในความสำคัญของการทำงานร่วมกัน การรับใช้อิสลาม และความจำเป็นในการรวมกลุ่มเพื่อดำรงศาสนาของอัลลอฮ์บนหน้าแผ่นดิน พร้อมกับให้มุสลิมได้รับสิทธิที่เป็นเรื่องเฉพาะในขั้นพื้นฐาน
ระยะเวลา 2 ปี
ศาสนบัญญัติ (4)
(2)จุดประสงค์ทั่วไป
1.เพื่อให้มุสลิมได้เรียนรู้ความหมายของศาสนกิจในอิสลาม เข้าใจหลักการและวิธีการตามศาสนบัญญัติเกี่ยวกับศาสนกิจจำเพาะ และเรียนรู้ผลของศาสนกิจทั้งต่อปัจเจกบุคคลและสังคม
2.เพื่อให้เข้าใจหลักการของการจ่ายซะกาต การถือศีลอดและการประกอบพิธีหัจญ์อย่างถ่องแท้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
(3)จุดประสงค์เฉพาะ (การถือศีลอด)
1.เรียนรู้ความหมายของการถือศีลอด ด้านภาษาและศาสนา
2.บอกหลักฐานการบัญญัติการถือศีลอด
3.อธิบายคุณค่าของการถือศีลอด
4.อธิบายความประเสริฐของเดือนรอมฎอน
5.อธิบายวิธีการกำหนดเดือนรอมฎอน
6.บอกผลที่ได้รับจากการถือศีลอดบางประการ
7.อธิบายวิทยปัญญาของการถือศีลอด
8.บอกวันต่างๆที่มีสุนนะฮ์ให้ถือศีลอด
9.อธิบายคุณค่าของเดือนรอมฎอนและความเกี่ยวพันธ์กับอัลกุรอาน
10.บอกเงื่อนไข หลักการ ข้อส่งเสริม มารยาท สิ่งที่ทำให้เสีย และสิ่งที่น่ารังเกียจในการถือศีลอด
11.บรรยายผลของการถือศีลอดต่อปัจเจกบุคคลและส่วนรวม
12.กำหนดหลักการเกี่ยวกับการละศีลอด
13.อธิบายสิ่งที่อนุโลมให้ปฏิบัติขณะถือศีลอด
14.สรุปเกี่ยวกับประของการถือศีลอด (วาญิบ , หะรอม ,  ตะเตาวะอ์) ภายในเวลา 5 นาที
15.อธิบายเกี่ยวกับการละหมาดตะรอวีห์และสิ่งที่เกี่ยวข้องภายในเวลา 5 นาที
16.อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดและคุณค่าของการเอี๊ยะติก๊าฟ
17.สรุปเกี่ยวกับการจ่ายซะกาตฟิตร์ (จำนวน ข้อกำหนด และผลของซะกาตด้านการประกันสังคม)
18.อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ่ายซะกาตฟิตร์ด้วยมูลค่าของอาหารและการย้ายซะกาตไปจ่ายในท้องที่อื่น
19.อธิบายสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติในการเอี๊ยะติกาฟ
20.เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เสียการเอี๊ยะติกาฟไม่เกิน 5 บรรทัด
21.อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับซะกาตฟิตร์
22.อธิบายทัศนะของนักวิชาการในการจ่ายซะกาตฟิตร์โดยใช้เงิน
23.อธิบายทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับข้อกำหนดของซะกาตฟิตร์
อัลหัจญ์
24.อธิบายความหมายของอัลหัจญ์ทางภาษา และศาสนบัญญัติ
25.บอกหลักฐานเกี่ยวกับการกำหนดการประกอบพิธีหัจญ์ในอัลกุรอานและอัสสุนนะฮ์
26.อธิบายวิทยปัญญาของการประกอบพิธีหัจญ์
27.อธิบายคุณค่าของการประกอบพิธีหัจญ์
28.กำหนดเงื่อนไขที่ทำให้วาญิบ(จำเป็น)จะต้องประกอบพิธีหัจญ์
29.อธิบายการประกอบพิธีหัจญ์แทนผู้ตายและผู้อื่น พร้อมเงื่อนไขของการปฏิบัติ
30.บอกเขตกำหนด(มีกอต)เกี่ยวกับเวลาและสถานที่สำหรับการประกอบพิธีหัจญ์
31.บอกความหมายและข้อกำหนดของการเอี๊ยะรอม
32.บอกคำจำกัดความของข้อห้ามในการเอี๊ยะรอมและโทษของผู้ฝ่าฝืน
34.อธิบายประเภทและข้อกำหนดของแต่ละประเภท
35.บรรยายวิธีการปฏิบัติสิ่งที่เป็นโครงสร้าง(รุกน) สิ่งที่จำเป็น(วาญิบ) และสิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ(สุนนะฮ์) ของการประกอบพิธีหัจญ์
36.อธิบายเงื่อนไขและสุนนะฮ์ของการฏอวาฟ
37.อธิบายเงื่อนไข สิ่งจำเป็น(วาญิบ) และสุนนะฮ์ของการสะอ์ยุ
38.อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับการโกนหรือตัดผม
39.อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับการวุกูฟ(พัก)ที่มุซดะฟะฮ์
40.อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนด เงื่อนไข วาญิบ สุนนะฮ์ และเวลาของการขว้างเสาหิน
41.อธิบายข้อกำหนดเกี่ยวกับการพักแรมที่มินาและข้อกำหนดเกี่ยวกับการฎอวาฟวะดาอ์(อำลา)
42.บอกคำจำกัดความ เงื่อนไขของอัลฮัดยุ(สัตว์สำหรับเชือด) เวลา สถานที่ และวิธีการเชือด
43.บอกสุนนะฮ์ที่ไม่เกี่ยวพันธ์กับสิ่งที่เป็นรุกนและวาญิบต่างๆ
44.บอกวิธีการตะหัลลุล(การออก)จากการประพิธีหัจญ์
45.บอกขั้นตอนการประกอบพิธีหัจญ์ตามกำนดเวลา
46.บอกความหมายการบัญญัติ ข้อกำหนด เวลา มีกอต และรุกนของการประกอบพิธีอุมเราะฮ์
47.อธิบายความหมายปรัชญา ข้อกำหนด และเงื่อนไขต่างๆของการอุดฮียะฮ์
(4)จุดประสงค์ด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัย
1.มีความอดทนต่อการทดสอบของอัลลอฮ์
2.ฉวยโอกาสช่วงเวลาที่อัลลอฮ์ทรงตอบรับดุอาอ์
3.ถือศีลอดรอมฎอนด้วยจิตวิญญาณของการถือศีลอดที่แท้จริง
4.รักษาการนมาซตะรอวีห์อย่างสม่ำเสมอ
5.เร่งรีบสู่การเอี๊ยะติกาฟเท่าที่จะทำได้
6.จ่ายซะกาตฟิตร์ด้วยความใจบุญ
7.ส่งเสริมการถือศีลอด นมาซตะรอวีห์ เอี๊ยะติกาฟ จ่ายซะกาต และการบริจาค
8.ฉลองการมาเยือนของเดือนรอมฎอน(ด้วยการประดับตกแต่งมัสยิด บ้านเรือนและการอวยพรซึ่งกันและกัน)
9.ผนวกเจตนาการญิฮาดใน(ศาสนกิจ,การเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์,ความสำคัญและเตรียมพร้อม)
10.มีความอดทนที่จะอยู่ร่วมกับผู้มีสัจธรรม
11.มีความมุ่งมั่นที่จะขอดุอาอ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ประเสริฐทั้งหลาย
12.มีความมุ่งมั่นที่จะกลับตัวและขออภัยโทษ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัลลอฮ์ทรงรับการกลับตัวและการขออภัยโทษ
13.มีการตรวจสอบเจตนาทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน มีความรู้สึกถึงความหวานของการศรัทธาและการประกอบศาสนกิจเพื่ออัลลอฮ์
14.มีความรู้สึกถึงการอภัยโทษบาปและกรุณาธิคุณของอัลลอฮ์ต่อบ่าวของพระองค์ที่ทุ่งอะรอฟะฮ์
15.มีมารยาทในการประกอบศาสนกิจและนึกถึงข้อแนะนำของอัลกุรอานและสุนนะฮ์เกี่ยวกับเรื่องนั้น
16.นึกถึงคำพูดของท่านรอสลฯ และข้อแนะนำของท่านในวันอะรอฟะฮ์ พร้อมกับพยายามที่จะปฏิบัติตาม
17.พยายามแสวงหาผลประโยชน์จากการรวมกลุ่มของบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์ ด้วยการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่ว เพิ่มความเป็นเอกภาพของบรรดามุสลิม ศึกษาปัญหาของพวกเขาและหาทางแก้ปัญหา
18.เอาประโยชน์จากการเพิ่มพูนผลบุญในการละหมาดและปฏิบัติศาสนกิจในสถานที่เป็นมงคลเท่านั้น
19.มีความจูงใจในการถือศีลอดตามวันที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ
20.สร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์โดยการปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆของพระองค์


การถือศีลอด
บทที่ 1
การถือศีลอดที่ระบุในอัลกุรอาน

 

อธิบายศัพท์

كُتِبَ عَلَيْكُمْ : 
ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า
   
أَيَّامًا مَعْدُوْدَات : 
หมายถึงเดือนรอมฎอน
 فَعِدَّة :
คือเป็นวาญิบ(จำเป็น)สำหรับเขาที่จะต้องถือศีลอดหลังจากเดือนรอมฎอนตามจำนวนวันที่เขาไม่ได้ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
يُطِيْقُوْنَهُ :
คือสามารถถือศีลอดได้แต่ด้วยความยากลำบากหรือไม่สามาถถือได้ เช่น คนชรา ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และแม่ที่ให้นมลูก
فِدْيَة : 
คือให้ละศีลอดและให้จ่ายฟิดยะฮ์ซึ่งหมายถึงการเลี้ยงอาหารแก่คนจนหนึ่งคนต่อหนึ่งวัน
فَمَنْ تَطَوَّعَ : 
คือให้อาหารมากกว่าปกติ หรือถือศีลอดชดพร้อมกับเลี้ยงอาหารด้วย
اَلْفُرْقَان : 
ข้อแบ่งแยกระหว่างสัจธรรมกับความเท็จ
فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْر:
หมายถึงผู้ใดที่เดือนรอมฎอนมาถึง เขาอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นผู้เดินทาง มีสติสัมปะชัญญะและบรรลุศาสนภาวะ
وَلِتُكْمِلُوْا اْلعِدَّةَ : 
หมายถึงเพื่อพวกเจ้าจะได้ถือศีลอดรอมฎอนอย่างครบถ้วนด้วยการถือศีลอดชดเชยที่ไม่ได้ถือในเดือนรอมฎอน
اَلرَّفَثُ إِلَى نِسَآئِكُمْ : 
หมายถึงเป็นคำใช้แทนการมีเพศสัมพันธ์
تَخْتَانُوْنَ أَنْفُسَكُمْ : 
หมายถึงพวกเจ้าคิดว่ามัน(อารมณ์ของพวกเจ้า)ไม่ซื่อสัตย์เนื่องจากมันมีความปรารถนาที่
จะทานอาหาร เครื่องดื่ม และมีเพศสัมพันธ์ยามค่ำคืนทั้งๆที่เป็นสิ่งที่ต้องห้าม
فَتَابَ عَلَيْكُمْ : 
หมายถึงพระองค์ลดหย่อนให้แก่พวกเจ้าจากข้อบังคับที่ลำบากนั้น
بَاشِرُوْهُنَّ : 
เป็นคำใช้แทนการมีเพศสัมพันธ์
وَابْتَغُوْا : 
จงแสวงหา
حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ اْلخَيْطُ اْلأَبْيَضُ مِنَ اْلخَيْطِ اْلأَسْوَدِ : 
หมายถึงความสว่างของกลางวันและความมืดของกลางคืน
إِلَى اللَّيْلِ : 
หมายถึงจนกระทั้งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
عَاكِفُوْنَ 
หมายถึง เป็นผู้เอี๊ยะติก๊าฟ และการเอี๊ยะติก๊าฟคือการพำนักในมัสยิดด้วยเจตนาเพื่อทำบาดะฮ์และไม่อนุญาตให้ผู้เอี๊ยะติก๊าฟมีเพศสัมพันธ์





Twitter E:mail
2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อย่าลืมแสงความคิดเห็น เสนอแนะ ติชมกันมาบ้างน่ะครับเพื่อเป็นกำลังใจให้กันต่อไป
แสดงความคิดเห็นได้โดยเลือกไม่ระบุชื่อ หากต้องการระบุก็ พิมพ์ใส่ในกล่องคอมเม้นได้เลบครับ
ทาง [Ad min] จะนำข่าวสารดีๆ มาฝากกันอีกนะครับ โดย [Ad min{An-Ch}]แจ้งข่าวสารยังผู้ดูแล >>[ คลิก ]<<

ข่าวเด่นเมืองคอน

------------------------------ ออนไลน์จากเฟสบุค -------------------------------

ส่งข้อความแนะนำเฟสอัลมูให้เพื่อน
บริการแปลภาษาในหน้าเว็บนี้

แบ่งปันเนื้อหาในเว็บนี้ไปยัง

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More